วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ความหมาย ความสำคัญ และความเป็นมาของอาชีวอนามัย
อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาสุขศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ และผลกระทบที่เกิด จากการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อการดำเนินการให้ผู้ประกอบอาชีพ หรือแรงงานเกิดความปลอดภัยสูงสุด ได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
คำว่า อาชีวอนามัย “Occupational Health” เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า อาชีวะ หรือ อาชีพ กับคำว่า อนามัย หรือ สุขภาพ
อาชีวะ (Occupation) หมายถึง การเลี้ยงชีพ การประกอบอาชีพ บุคคลที่ประกอบ สัมมาชีพ หรือคนที่ประกอบอาชีพทุกสาขาอาชีพ
อนามัย (Health) หมายถึง สุขภาพอนามัย ความไม่มีโรค หรือสภาวะความ สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ประกอบอาชีพ
จากคำสองคำรวมกันเป็น อาชีวอนามัย และมีความหมายร่วมกันของอาชีวอนามัย ว่า หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริม ควบคุม ดูแล การป้องกันโรค ตลอดจนอุบัติเหตุ และดำรงรักษาสุขภาพอนามัยทั้งมวลของผู้ประกอบอาชีพให้มีความปลอดภัย มีสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งสอดคล้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้ความหมายของอาชีวอนามัยไว้ว่าหมายถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ธำรงไว้ซึ่งสุขภาพทางกาย ทางจิตใจ และทางสังคมที่ดีงามของผู้ประกอบอาชีพทั้งมวล องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) และองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ (International Labor Organization : ILO) ได้ร่วมกันกำหนดขอบข่าย ลักษณะงานอาชีวอนามัยไว้ว่าประกอบด้วยงานสำคัญ 5 ประการดังนี้
1. การส่งเสริม (Promotion) หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ ซึ่งสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพ ตลอดจนมีความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันในสังคมของผู้ประกอบอาชีพตามสถานะที่พึงมีได้
2. การป้องกัน (Prevention) หมายถึง การป้องกันมิให้ผู้ประกอบอาชีพ หรือ แรงงานมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ เนื่องจากสภาพ หรือสภาวะการทำงานที่ ผิดปกติ
3. การปกป้องคุ้ม ครอง (Protection) หมายถึง การดำเนินการปกป้องคุม้ ครอง ผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานในสถานประกอบการ มิให้มีการกระทำงานที่เสี่ยงต่อ อันตรายหรือการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
4. การจัดการทำงาน (Placing) หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับสภาพสิ่งแวดล้อม ของการทำงานให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความต้องการของร่างกาย จิตใจ ของผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5. การปรับงานและคนให้มีความเหมาะสมกัน (Adaptation) หมายถึง การปรับ สภาพของงานและคนทำงานให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ โดย คำนึงถึงสภาพทางสรีรวิทยาและพื้นฐานความแตกต่างทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของ คนทำงานให้มีความสอดคล้องมากที่สุดเพื่อประสิทธิผลของงานนั้น ๆ
ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจะมีขอบเขตที่เกี่ยวข้องเฉพาะปัญหาสุขภาพอนามัย (Health problems) ของคนที่เกิดจากการทำงาน ดังนี้

1. คนในขณะทำงาน (Workers)
ในผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพต่างๆจะได้รับการดูและทางสุขภาพอนามัย การค้นหาโรคและอันตรายที่เกิดขึ้นที่เป็นผลมากจากการทำงาน การส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันโรค อันตรายและอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการทำงาน
2. สภาพสิ่งแวดล้อมของการทำงาน (Working Environment)
เป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมของงานแต่ละประเภท ว่ามีสิ่งใดที่ทำให้เกิดอันตราบได้บ้าง และมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
การศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้หลักการทางอาชีวสุขศาสตร์ (Occupational hygiene) มี 3 หลักการใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. การสืบค้น (Identify)
โดยศึกษาสภาพแท้จริงของงาน เพื่อค้นหาปัญหาว่าในงานนั้นๆมีสิ่งใดบ้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน เช่น อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ อันตรายจากสารเคมี อันตรายทางด้านชีวภาพ และปัญหาทางด้านการยศาสตร์
2. การประเมินอันตราย (Evaluation)
เมื่อทราบปัญหาแล้ว จะต้องมีการประเมินระดับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นว่ามีผลต่อสุขภาพคนงานหรือไม่และมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามรถกระทำได้โดยการตรวจสอบ การตรวจวัด หรือการวิเคราะห์ปัญหา โดยนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่มีการกำหนดไว้
3. การควบคุม (Control)
เป็นงานที่ต้อเนื่องจากทั้งสองขั้นตอนข้างต้น ซึ่งเมื่อทราบว่างานนั้นมีสิ่งใดที่เป็นอันตรายหรือมีผลต่อสุขภาพ และทราบความรุนแรงของอันตรายแล้วจะนำมาสู่การดำเนินการควบคุมและป้องกันอันตราย โดยการใช้มาตรการ วิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการควบคุมอันตรายดังกล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น