วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ความสำคัญของอาชีวอนามัย

ความสำคัญของอาชีวอนามัย
วิถีการดำเนินชีวิตมีการประกอบอาชีพเป็นกิจกรรมสำคัญเพื่อสร้างฐานะทาง เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งของตนเองและครอบครัว ซึ่งถือได้ว่าคนเป็นทรัพยากร ที่สำคัญและมีค่ามากที่สุดในการจัดการการทำงานขององค์กร พัฒนาอาชีพและก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยพัฒนาไปตามยุคสมัยจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปจัจุบัน สนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการ ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคบริโภคของประชากรทั้งในประเทศ รวมทั้ง เพื่อการส่งออก ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่แรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น การผลิตที่มากขึ้น เกิดการ เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน มีการนำเข้าวัตถุดิบและการใช้สารเคมีอันตราย โดยได้มี รายละเอียดด้านความปลอดภัยมาใช้ในการผลิตมากยิ่งขึ้น คนทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรมเกิดการเจ็บป่วย มีอุบัติภัย อุบัติหตุและเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น ส่งผลกระทบ ทั้งในระบบและภายนอก การทำงานส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเกิดปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรม เป็นโรคจากการประกอบอาชีพ (Occupation diseases) กันมากขึ้นถึง ขั้นทุพพลภาพและเสียชีวิต ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลทางสถิติได้จากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งในแต่ละปีกองทุนเงินทดแทนต้อง จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างผู้ประสบอันตรายจากการทำงานเป็นจำนวนเงินมากมายมหาศาล นับเป็นหลายร้อยล้านบาท ความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลถึงการสูญเสียประชากรวัยทำงานที่กำลังได้รับการ พัฒนาความรู้ ความสามารถและฝีมือแรงงาน สูญเสียกำลังงาน เศรษฐกิจ ส่งผลถึงการ ผลิตที่ต้องหยุดชะงัก ผลผลิตลดลง ความเสียหายที่เกิดกับเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการทำงาน วัตถุดิบที่เสียหาย สูญเสียเวลา เสียค่ารักษาพยาบาล เสียขวัญและกำลังใจในการ ทำงาน ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและเป็นปัญหาสังคมประเทศชาติต่อไปอย่างแน่นอน แรงงานที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบและองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เรียกร้อง ให้หน่วยงานของรัฐบาลให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ในการประกอบอาชีพของประชาชน ทำให้มีการพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ พ.ศ.2525-2529 จนถึง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 ซึ่งเป็นเรื่องของการยกระดับฝีมือแรงงานเข้าสู่มาตรฐานการทำงานรวมทั้งสถานประกอบการและแรงงานที่สามารถตรวจสอบ ประเมินได้อย่างเป็นธรรม และยังส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยยึด ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย เพื่อการอยู่ดีกินดีและอยู่รอดปลอดภัยท่ามกลางปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติ                                 นอกจากนั้นหน่วยงานเอกชนที่เห็นถึงความสำคัญและความปลอดภัยของสุขภาพ อนามัยในการประกอบอาชีพของประชาชน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมส่งเสริมความ ปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2530 เป็นต้นมา เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ด้านความปลอดภัยและ อนามัยในการทำงานโดยสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรต่างๆ ในการส่งเสริม ด้านสวัสดิการกับผู้ใช้แรงงาน

1 ความคิดเห็น: