แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุและความปลอดภัย
1. ทฤษฎีโดมิโนของการเกิดอุบัติเหตุ Domino Theory
ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) ของการเกิดอุบัติเหตุ สามารถเชื่อมโยงได้กับปรัชญาความปลอดภัยของ H.W. Heinrich เกี่ยวกับสาเหตุของอุบัติเหตุได้ทฤษฎีโดมิโน กล่าวว่า การบาดเจ็บและความเสียหายต่างๆ เป็นผลที่สืบเนื่องโดยตรงมาจากอุบัติเหตุและอุบัติเหตุเป็นผลมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเปรียบได้เหมือนตัวโดมิโนที่เรียงกันอยู่ 5 ตัวใกล้กัน เมื่อตัวที่หนึ่งล้มย่อมมีผลทำให้ตัวโดมิโนถัดไปล้มตามกันไปด้วย ตัวโดมิโนทั้งห้าตัว ได้แก่
1. สภาพแวดล้อมหรือภูมิหลังของบุคคล (Social Environment orBackground)
2. ความบกพร่องผิดปกติของบุคคล (Defects of Person)
3. การกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts/UnsafeConditions)
4. อุบัติเหตุ (Accident)
5. การบาดเจ็บหรือเสียหาย (Injury/Damages)
นั่นคือ สภาพแวดล้อมของสังคมหรือภูมิหลังของคนใดคนหนึ่ง เช่น สภาพครอบครัวฐานะความเป็นอยู่ การศึกษาอบรม ก่อให้เกิดความบกพร่องผิดปกติของคนนั้น ทัศนคติต่อความปลอดภัยที่ไม่ถูกต้อง ชอบเสี่ยง มักง่าย ก่อให้เกิดการกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งจะทำก่อให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือความสูญเสียตามมา ทฤษฎีโดมิโนนี้ มีผู้เรียกชื่อใหม่เป็น “ลูกโซ่ของอุบัติเหตุ (Accident Chain)
การป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดนิโน ตามทฤษฎีโดมิโน หรือลูกโซ่ของอุบัติเหตุ เมื่อโดมิโนตัวที่ 1 ล้ม ตัวถัดไปก็ล้มตาม ดังนั้นหากไม่ให้โดมิโนตัวที่4 ล้ม (ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ) ก็ต้องเอาโดมิโนตัวที่ 3 ออก (กำจัดการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย) การบาดเจ็บหรือความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้นการป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดมิโนหรือลูกโซ่อุบัติเหตุ ก็คือ การตัดลูกโซ่อุบัติเหตุ โดยกำจัดการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยออกไปอุบัติเหตุก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนการที่จะแก้ไข ป้องกันที่โดมิโนโนตัวที่ 1 (สภาพแวดล้อมของสังคมหรือภูมิหลังของบุคคล) หรือตัวที่ 2 (ความบกพร่องผิดปกติของบุคคล) เป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและปลูกฝังเป็นคุณสมบัติส่วนบุคคลแล้ว
2. ทฤษฎีความเอนเอียงในการเกิดอุบัติเหตุ (Accident-Proneness Theory)
ทฤษฎีความโน้มเอียงของการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยนักวิจัยอังกฤษ 2 คนคือ Major GreenwoodและHilda M.woods ที่ได้ทำการศึกษาการเกิด อุบัติเหตุของคนงานในประเทศอังกฤษ โดยอธิบายถึงการเกิดอุบัติเหตุซ้ำๆ คือ การที่บางบุคคลเกิดอุบัติเหตุ มากกว่าคนอื่นๆ แต่ความโน้มเอียงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุอธิบายถึงว่า “ ทำไมบุคคลนั้นจึงเกิดอุบัติเหตุมากกว่าคนอื่นๆ ”
ความโน้มเอียงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเป็นการคาดการณ์ ล่วงหน้าซึ่งแต่ละคนย่อมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้เท่าๆ กัน
ความโน้มเอียงที่จะทำให้บุคคลเกิดอุบัติเหตุ
1. ความโน้มเอียงที่จะเกิดอุบัติเหตุมีกำหนดเวลาในช่วงสั้นๆ โดย เกิดผลในระยะวิกฤต คือ ในสภาพบุคคลที่เครียด แต่เมื่อระยะวิกฤตเหล่านั้นหมดไป บุคคลก็จะปรับตัวในสภาพเดิมได้ แต่อยู่ภายใต้ความรู้สึกกดดันที่มี ความโน้มเอียงจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น บุคคลที่อยู่ระยะพักฟื้นจะมีความอ่อนเพลียซึ่งความอ่อนเพลียนี้จะเป็นเหตุสนับสนุนให้เกิดอุบัติเหตุได้
2. ความโน้มเอียงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุของแต่ละบุคคล มีสาเหตุใหญ่มาจากแหล่งภายในที่ประกอบด้วย บุคลิก สภาพจิตใจและสภาพ ร่างกาย
2.1 บุคลิกลักษณะ พวกนี้จะมีบุคลิกลักษณะที่ต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมที่ เปิดเผยชอบแหวกกฎ (ทำลายกฎเกณฑ์)
2.2 สภาพจิตใจ คือ พวกอารมณ์รุนแรงต่างๆเช่น อาการซึมเศร้า ฉุนเฉียวง่าย มีความเครียดสูงและพวกที่มีกฎเกณฑ์จะมีแนวโน้มเอียงที่จะเกิดอุบัติเหตุสภาพร่างกาย เช่น สายตาผิดปกติ ความชรา เป็นต้น เหล่านี้ จะทำให้บุคคลเสียความสามารถในอันจะทำให้เกิดความปลอดภัย
Karl Marbe (1926) นักจิตวิทยาชาวเยอรมันได้เสนอความโน้มเอียงในการเกิดอุบัติเหตุ อันเป็นลักษณะบุคลิกภาพซึ่งมีแนวโน้มให้บุคคลได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งแนวคิดนี้ได้ศึกษาลักษณะธรรมชาติของบุคคลที่มีส่วนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งแยกประเภทบุคคลหรืออาจเรียกว่า เป็นปัจจัยซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยไว้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
•ผู้ที่มีลักษณะ X ได้แก่ ผู้มีความโน้มเอียงที่จะไม่เกิดอุบัติเหตุ
•ผู้ที่มีลักษณะ Y ได้แก่ ผู้มีความโน้มเอียงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
บุคคลประเภทเอ็กซ (Type X) มีความเอนเอียงที่จะไม่เกิดอุบัติเหตุ (Non-Accident-Prone)
|
บุคคลประเภทวาย (Type Y) มีความเอนเอียงที่จะเกิดอุบัติเหตุ (Accident-Prone)
|
1. ผู้ที่มีระเบียบแบบแผน 2. ผู้ที่มีเป้าหมายในการดำรงชีวิต 3. ผู้ที่พอใจในชีวิตประจำวัน 4. ผู้ที่เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น 5. ผู้ที่ไม่เผด็จการ 6.ผู้ที่ไม่ชอบโต้เถียงหรือทะเลาะวิวาท 7. ผู้ที่นึกถึงผู้อื่น
|
1. ผู้ที่ไม่มีระเบียบแบบแผน 2. ผู้ที่ไม่มีเป้าหมายในการดำรงชีวิต 3. ผู้ที่ไม่พอใจในชีวิตประจำวัน 4. ผู้ที่ไม่สนใจในสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น 5. ผู้ที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ 6. ผู้ที่ระงับอารมณ์ ความรู้สึกเกลียดชังยาก 7. ผู้ที่นึกถึงแต่ตัวเอง
|
ส่วน Shaw and Sichel ได้รวบรวมลักษณะบุคลิกภาพของคนเราที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุไว้ โดยพิจารณาลักษณะบุคคลที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุดังนี้
ลักษณะของผู้เสี่ยงอุบัติเหตุมาก
1. ผู้ที่บกพร่องทางจิตใจ เป็นโรคจิต โรคประสาท
2. ผู้ที่ไม่ฉลาด ขาดสมาธิ ไม่รู้จักสังเกต
3. ผู้ที่ขาดระเบียบวินัย
4. ผู้ที่ปรับตัวไม่ดี หรือปรับตัวไม่ได้
5. ผู้ที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง ขาดการควบคุมอารมณ์ อารมณ์ฉุนเฉียว
6. ผู้ที่ชอบริษยา ไม่มีความพึงพอใจ
7. ผู้ที่ขาดความอดทน ถูกครอบงำและข่มขู่ง่าย
8. ผู้ที่เห็นแก่ตัว คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน
9. ผู้ที่มีความเชื่อโบราณ ไม่มีเหตุผล
10. ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย ขาดวุฒิภาวะ
11. ผู้ที่ไม่รู้จักช่วยตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจ
12. ผู้ที่มีความเชื่อมั่นตัวเองสูงเกินไป
13. ผู้ที่ชอบการแข่งขันมาก
14. ผู้ที่มีทัศนคติต่อต้านสังคม หรือมีแนวโน้มที่จะก่ออาชญากรรม
ลักษณะของผู้ที่เสี่ยงอุบัติเหตุน้อย
1. ผู้ที่ควบคุมตัวเองได้ดี มีวุฒิภาวะ และมีสุขภาพดี
2. ผู้ที่ปรับตัวเข้ากับสังคมได้และมีความรับผิดชอบ
3. ผู้ที่ควบคุมอารมณ์ได้ ไม่ก้าวร้าวมากเกินไป
4. ผู้ที่สามารถประเมินสถานการณ์และตัดสินใจได้
5. ผู้ที่เรียนรู้ได้เร็ว โดยเฉพาะจากประสบการณ์และการทำผิดพลาด
6. ผู้ที่เป็นมิตร ร่าเริง และรู้จักการยอมรับ
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในแต่ละช่วงชีวิต ย่อมมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุได้เสมอ ดังนั้นผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดอุบัติเหตุ ก็มิใช่ว่าจะเป็นบุคคลที่ได้รับอุบัติเหตุเสมอ หรืออุบัติเหตุซ้ำซาก (Accident-repetitiveness) และผู้ที่มีความละเอนเอียงที่จำไม่เกิดอุบัติเหตุก็มิใช่จะรับประกันได้ว่า เป็นบุคคลที่มีภูมิต้านทานการเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดไป ทุกคนมีสิทธิและโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้เสมอ
ในเรื่องพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุนั้น ได้ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิต ของคนงานซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตและการเกิดอุบัติเหตุของคนงาน โดย Alkorได้ตั้งหน่วยวัดขึ้นเรียกว่า “หน่วยการเปลี่ยนแปลงในชีวิต” (Life Change Units) และให้มูลค่าสำหรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เรียงตามลำดับความสำคัญไว้ แล้วสรุปเป็นตัวเลขว่าในช่วงเวลาสั้นหากบุคคลใดได้รับหรือพบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จนมีค่าเกินระดับหนึ่งแล้ว จะได้รับผลต่อร่างกายอย่างแน่นอน
อันดับที่
|
เหตุการณ์
|
มูลค่า
|
1
|
การตายของคู่สมรส
|
100
|
2
|
การหย่าร้าง
|
73
|
3
|
การแยกกันอยู่
|
65
|
4
|
การติดคุก
|
63
|
5
|
การตายของคนในครอบครัว
|
63
|
6
|
ความบาดเจ็บ เจ็บป่วยส่วนตัว
|
53
|
7
|
การแต่งงาน
|
50
|
8
|
การถูกไล่ออกจากงาน
|
47
|
9
|
การกลับคืนดีกับคู่ครอง
|
45
|
10
|
การหยุดทำงาน (เกษียณ)
|
45
|
11
|
ความเปลี่ยนแปลงสุขภาพของคนในครอบครัว
|
44
|
12
|
การตั้งครรภ์
|
40
|
13
|
ปัญหาทางด้านเพศ
|
39
|
14
|
มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้น
|
39
|
15
|
ปรับปรุงทางการทำงานธุรกิจ
|
39
|
16
|
เปลี่ยนสถานภาพทางการเงิน
|
38
|
17
|
การตายของเพื่อนสนิท
|
37
|
18
|
เปลี่ยนสายงาน
|
36
|
19
|
เพิ่ม/ลด ความบ่อยในการทะเลาะกับแฟน
|
35
|
20
|
ไปจำนองมีมูลค่าเกิน 2 แสนบาท
|
31
|
21
|
ถูกยืดการจำนอง
|
30
|
22
|
เปลี่ยนแปลงความรับผิดชอบที่ทำงาน
|
29
|
23
|
บุตร/ธิดา ต้องเดินทางจากบ้าน
|
29
|
24
|
มีปัญหากับญาติของแฟน
|
29
|
25
|
ประสบความสำเร็จส่วนตัวเป็นพิเศษ
|
28
|
26
|
ภริยาเริ่มต้น/เลิกประกอบอาชีพ
|
26
|
27
|
เริ่มเข้าเรียน/สำเร็จการศึกษา
|
26
|
28
|
เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่
|
25
|
29
|
การเปลี่ยนแปลงนิสัยส่วนตัว
|
24
|
30
|
มีปัญหากับเจ้านายที่ทำงาน
|
23
|
31
|
เปลี่ยนแปลงเวลาทำงาน/สภาพงาน
|
20
|
32
|
ย้ายที่อยู่
|
20
|
33
|
ย้ายสถานที่เรียน
|
20
|
34
|
เปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางสังคม
|
18
|
35
|
จำนองทรัพย์สินมูลค่ำกว่า 2 แสนบาท
|
17
|
36
|
เปลี่ยนแปลงนิสัยการนอน
|
16
|
37
|
เปลี่ยนแปลงจำนวนครอบครัวอยู่ร่วม
|
15
|
38
|
เปลี่ยนแปลงนิสัยการกิน
|
15
|
ตารางแสดงหน่วยการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
จากผลการวิจัยของ Alkor สรุปได้ว่า “สภาพความเปลี่ยนแปลง และความเป็นอยู่ทางบ้านของคนงาน มีผลต่ออารมณ์ และสภาพจิตใจของคนงาน และสภาพอารมณ์และจิตใจที่เสื่อมทรามของคนงาน ย่อมจะเป็นสาเหตุในการก่ออุบัติเหตุขึ้นได้
มูลค่าความเปลี่ยนแปลง
|
ผลกระทบที่ได้รับ
|
150 - 199
|
สุขภาพเสื่อมภายใน 2 ปี (โดยทั่วไป 1 ปี)
|
200 – 299
|
สุขภาพเสื่อมภายในช่วงต่ำกว่า 2ปี
|
เกิน 300
|
เจ็บป่วยสุขภาพเสื่อมโทรม
|
ตารางแสดงผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลง
นอกจากนั้นอายุของคนงานก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอันตราการเกิดอุบัติเหตุด้วย ดังที่ Joseph Tiffin ได้ศึกษาอัตราการเข้าโรงพยาบาล ของคนงานเทียบกับอายุของคนงาน และอายุการปฏิบัติงานจากคนงาน 9,000 คน ในโรงงานถลุงเหล็กกล้า ซึ่งพบว่าคนงานที่มีอายุ 18-23 ปี มีแนวโน้มที่จะได้รับอันตราย เพิ่มมากขึ้นตามอายุ และมีอัตราการเข้าโรงพยาบาลสูงสุด ประมาณ 1.25 ครั้งต่อปี ในช่วงอายุ 23-25 ปี ส่วนคนงานที่มีอายุมากกว่า 25 ปี มักมีแนวโน้มที่จะได้รับอันตรายจนต้องเข้าโรงพยาบาล ลดน้อยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
จิตสำนึกต่อความปลอดภัย (Safety Conscious) ของคนงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า มีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น วุฒิภาวะ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษาอบรม ประสบการณ์ ฯลฯ
3. ทฤษฏีการเกิดอุบัติเหตุสวิสชีส โมเดล(Swiss Cheese Model)
รูปแบบแผ่นชีสตามทฤษฏีของ สวิส ชีส โมเดล
รูปแบบของแผ่นชีสสวิส (Swiss Cheese Model) นั้น ใชสำหรับเพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) และการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) โดยมักจะใช้ในกิจการที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การบิน (Aviation), วิศวกรรม (Engineering) และทางการแพทย์ (Healthcare) โดยแนวคิดนี้จะมองว่า มนุษย์เราแต่ละคนนั้น เปรียบเสมือนแผ่น ชีสแต่ละแผ่น ที่มีรูพรุนบนแผ่น่ซึ่งรูพรุนเหล่านี้ก็คือจุดอ่อน หรือความผิดพลาดส่วนบุคคลนนั่ นเอง ซึ่งแต่ละการกระทำของมนุษย์แต่ละคนจะเหมือนกับการเลื่อนซ้ายขวาบนล่างของแผ่น ชีส แล้วถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น (Hazards) รวมกัน แล้วลูกศรสีแดง คือ อัน ตรายที่เกิดขึ้นมัน สามารถทะลุจากแผ่นหนึ่ง ไปยังอีกแผ่นหนึ่งได้มัน ก็จะ สามารถก่อให้เกิดความเสียหาย (Losses) ในท้ายที่สุดได้
ดังนั้น อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีอันตรายเกิดขั้นพร้อมๆกับที่มีความผิดพลาดต่างๆเกิดขึ้นพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น ในระบบการบิน การที่เครื่องบินจะสามารถบินได้อย่างปลอดภัย เดินทางถึง จุดหมายอย่างสวัสดิภาพนั้น ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การออกแบบเครื่องบิน วัสดุอุปกรณ์การประกอบ วิศวกรการบินช่างดูแล นัก บิน แอร์โฮสเตส พนักงานภาคพื้น เจ้าหน้าที่ ควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) ผู้โดยสาร รวมถึงไปสภาพอากาศแล้วก็มีอีกมากมายหลากหลาย ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความผดิพลาดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม Swiss Cheese Model นั้นเป็นเพียงทฤษฎีที่มาอธิบายความผิดพลาด หรือความ เสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้นเท่าน้ัน และหลังจากนี้หน้าที่การออกกฎระเบียบด้านความ ปลอดภัยในแต่ละขั้น ตอนกระบวนการนั้นจะสำคัญอย่างยิ่งยวด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุผิดพลาดหรือโศกนาฏกรรมขึ้นมาได้นั่นเอง
4. ทฤษฎีการขาดดุลยภาพ (Imbalance Cause Theory)
เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึง การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุที่เกิดจากการขาดดุลยภาพชั่วขณะหนึ่ง ระหว่างพฤติกรรมของคน กับระบบการทำงานที่บุคคลนั้นกระทำอยู่
อุบัติเหตุเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยประมาณร้อยละ 88
เกิดจากสภาวะไม่ปลอดภัยประมาณ ร้อยละ 10
ส่วนอีกร้อยละ 2 เกิดจากสาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับสาเหตุที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดอุบัติเหตุนั้นมี 3 ประการคือ
1. ความบกพร่องในการดูแลปฏิบัติงาน
2. สภาวะจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน
3. สภาวะทางร่างกายของ
การป้องกันไม่ให้เกิดการขาดดุลยภาพได้โดยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมของคน และระบบการทำงานควบคู่กันไป
5. ทฤษฎีพลังงาน (Energy Cause Theory)
Haddonได้ตั้งสมมุติฐานอธิบายการเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมานานโดยไว้ 2 ประการ คือ(สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์, 2550 หน้า452)
1. การบาดเจ็บเกิดจากการที่พลังงานกระทบกับร่างกายคนในปริมาณที่สูงเกินกว่าร่างกายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจะทนต่อแรงกระทบนั้นได้ เช่น แขนขาหักเพราะถูกกระทบจากรถชน ศีรษะแตก เนื่องจากวัตถุหล่นใส่เกิดแผลไหม้ จากกรดหรือด่างเป็นต้น
2. การบาดเจ็บเกิดจากการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายกับแรง ซึ่งมากระทบในลักษณะที่ผิดปกติ (Abnormal Energy Exchange) ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้น เช่น การได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การจมน้ำทำให้ขาดอากาศหายใจ เป็นต้น
ตัวอย่าง
รถยนต์วิ่งมาชนคน ถ้าชนเบาๆ ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทนต่อแรง กระทบได้ ก็จะไม่เกิดการบาดเจ็บแต่อย่างใด แต่ถ้าแรงกระทบนั้นสูงเกินกว่าที่ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ของร่างกายจะทนทานได้ ก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้น
การบาดเจ็บที่เกิดจากพลังงานกระทบกับร่างกายในปริมาณที่สูงเกิน ไป
ชนิดของพลังงาน
|
ลักษณะที่บาดเจ็บ
|
ตัวอย่างอุบัติเหตุ
|
แรงกระทบ (Mechanical)
|
ร่างกายหรืออวัยวะมีการเคลื่อนที่ เปลี่ยนรูป ฉีกขาด แตกหัก
|
การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทบ จากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เช่น
• รถชน
• ถูกของมีคม
• ตกจากที่สูง
|
ความร้อน (Thermal)
|
เกิดการอักเสบ ไหม้ และเผาเป็นเถ้า
|
• ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
|
กระแสไฟฟ้า (Electrical)
|
กล้ามเนื้อ การแข็งตัว ไหม้และเผา
เป็นเถ้า
|
• ไฟฟ้าดูด
• ไหม้
• เกิดการรบกวนของระบบ
ประสาท เช่น ในการช๊อตด้วย
กระแสไฟฟา
|
แสงรังสี (Radiation)
|
เซลล์ถูกทำลาย
|
• ถูกรังสี หรือกัมนตภาพรังสี
|
สารเคมี (Chemical)
|
เกิดการอักเสบ ปฏิกิรยาต่อเนือเยือ แล้วแต่ชนิดของสารเคมีการตายของ
เซลล์
|
• ถูกสารเคมี
• กรด ด่าง
• Toxin จากพืชและสัตว์
|
6. ทฤษฎีความล้า
ทฤษฎีความล้าเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องคุณลักษณะมนุษย์ ขีดจำกัด และความสามารถ ในการทำงานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
Grandjean (1981) ได้เสนอทฤษฎีความล้าในการทำงาน โดยระบุปัจจัยต่างๆ ที่มา กระทบต่อคน ซึ่ง ได้แก่
- ระยะเวลาการทำงาน
- ลักษณะของงาน
- สภาพแวดล้อมในการทำงาน
- สภาพความพร้อมของร่างกาย
รวมทั้งสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตต่างๆทำให้เกิดความล้า ซึ่งสามารถเปรียบเทียบ กับระดับความล้าได้กับระดับน้ำในถัง
เหตุปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความล้า
เมื่อมีความล้าสะสมขึ้นในร่างกาย ก็จำเป็นจะต้องมีการระบาย ให้ระดับความล้าหรือระดับน้ำในถังลดลง เพื่อให้ร่างกายได้มีการฟื้นตัว มิฉะนั้นถ้าปล่อยให้ระดับความล้ามีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆจนเกินขีดจำกัดที่ร่างกายจะรับได้ก็ย่อมเป็นอันตรายต่อร่างกายและเอื้ออำนวยให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายและทำให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นด้วย
7. ทฤษฎีปัจจัยมนุษย์ (The Human Factor Theory)
ทฤษฎีปัจจัยมนุษย์อธิบายสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดอุบัติเหตุ ลักษณะห่วงโซ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เกิดจากการขาดความประมาท และความไม่ระมัดระวังหรือขาดความเอาใจใส่ของมนุษย์
สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของมนุษย์
1. การทำงานเกินความสามารถ (Overload)
2. ขาดความรับผิดชอบ (Inappropriate response)
3. ทำงานไม่เหมาะสม (Inappropriate activities)
การทำงานเกินความสามารถ (Overload)
เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานขาดความสมดุลระหว่างความสามารถของ ตนเองกับภาระงาน ความรับผิดชอบ หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ซึ่งสามารถเกิดขึ้น ได้ จากหลายปัจจัยย่อย ได้แก่
-ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เสียงรบกวน แสง ความร้อน
-ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยภายในของผู้ปฏิบัติงานสามารถเกิดขึ้นทั้งทาง กายภาพ ได้แก่ ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และทางจิตใจ ที่ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนบุคคล
-ปัจจัยสถานการณ์อื่นๆ
ขาดความรับผิดชอบ (Inappropriate response)
บ่อยครั้งที่อุบัติเหตุเกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติงานและสถานประกอบการ ละเลย และขาดความเอาใจใส่หรือเพิกเฉยต่อ “ ปัจจัย สภาพแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่มีผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย และส่วนใดส่วนหนึ่งระบบงานที่เป็นจุดอ่อน ” อันเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กัน และทำให้เกิดอุบัติเหตุในทำนองเดียวกัน
เช่น เมื่อผู้บริหาร หัวหน้างานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องพบเห็นว่าอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ หรือมีร่องรอยของการ ชำรุดแต่เพิกเฉยและไม่เร่งรีบที่จะซ่อมแซม ปรับปรุง หรือแก้ไข ปล่อยให้ ผู้ปฏิบัติงานไม่สวมอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ป้องกันอันตรายในการทำงาน โดยไม่ตักเตือนหรือห้ามปราม
ทำงานไม่เหมาะสม (Inappropriate activities)
อุบัติเหตุส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องมาจากการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยของบุคคล และการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยเกิดจากองค์ประกอบภายในของแต่ละบุคคล
-พฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม
-มีเจตคติหรือลักษณะนิสัยในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง
-ผู้ปฏิบัติมีทักษะไม่เพียงพอขาดความชำนาญหรือความสามารถในการปฏิบัติงาน
-พฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น มีพื้นฐานความรู้หรือความเข้าใจที่ไม่ เพียงพอ หรือไม่ถูกต้องเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ ไม่ทันต่อความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย
-มีเจตคติหรือลักษณะนิสัยในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น ประมาท ขาดความรอบคอบ เกียจคร้าน ดื้อรั้น ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
-ผู้ปฎิบัติมีทักษะไม่เพียงพอ ขาดความชำนาญหรือความสามารถในการปฏิบัติงาน เช่น ปฏิบัติงานขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย มึนเมา หรืออารมณ์ผิดปกติ โดยเฉพาะ การดื่มสุรา เครื่องดองของเมา เป็นต้น
8. จัตุรัสความปลอดภัย (Safety Square)
จัตุรัสความปลอดภัย (Safety Square) คือแผนภูมิสรุปปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ที่ร่วมประสานขึ้นเป็นระบบงานที่มีความปลอดภัยต่อคนงาน ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงาน องค์การเพื่อความปลอดภัย วิธีการทำงานที่ปลอดภัย และการซ่อมบำรุงเพื่อความปลอดภัย โดยผู้รับผิดชอบในการประสานงานคือ ผู้บริหารโรงงาน ซึ่งอาจจะเป็นผู้จัดการโรงงาน หรือ บุคคลอื่นที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่สั่งการในด้านความปลอดภัยจากผู้จัดการโรงงาน จัตุรัสความปลอดภัยจึงเป็นเสมือนแนวทางแบบเบ็ดเสร็จในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายทางความปลอดภัยของโรงงาน
รูปที่ 1.11 แผนภูมิจัตุรัสความปลอดภัยในโรงงานถือว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่ต้องจัดการให้มี
จากที่กล่าวมาเห็นได้ชัดว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่ สามารถป้องกันได้ และลำพังคนงานเองมีโอกาสป้องกันอุบัติเหตุได้ไม่มาก ฝ่ายบริหารเป็นผู้ที่สามารถจัดการป้องกันอุบัติเหตุได้ผลดีกว่าแม้ว่าการดำเนินโครงการป้องกันอุบัติเหตุจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายและเงินทุนมากขึ้น แต่หากกระทำอย่างเหมาะสมก็สามารถลดรายจ่ายจำนวนมากลงไปได้เช่นกัน ทั้งนี้เราพบว่าจัตุรัสความปลอดภัยน่าจะใช้เป็นเป้าหมายในการปฏิบัติของทุกฝ่ายเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันคือ ความปลอดภัยในโรงงานได้ไม่จำเพาะแต่ฝ่ายบริหารจะกระทำการแต่ฝ่ายเดียว ฝ่ายแรงงานย่อมต้องมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงอยู่ด้วยเสมอ
การเกิดอุบัติเหตุในโรงงานนี้ทุกครั้งที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) หรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions) ก็ตาม ย่อมแสดงให้เห็นว่ากระบวนการผลิตมีปัญหา นักบริหารความปลอดภัยจึงต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน โดยสอดแทรกความปลอดภัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการต่างๆ ในการทำงาน (โดยเฉพาะในกระบวนการผลิต) เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการผลิตที่มีประสิทธิภาพได้ด้วย “การผลิตที่มีความปลอดภัย (Safe Production)”
9. ทฤษฎี ด้านภาวะความเครียดจากการทำงาน
ความเครียด เป็นความกระวนกระวายใจ เนื่องจากสถานการณ์อันไม่พึงพอใจเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาไม่ได้รับการตอบสนอง หรือเป็นอื่นผิดไปจากเป้าหมายที่ต้องการ
ชนิดของความเครียด
1. Non Job Stress ความเครียดในชีวิต ประจำวันของเรา เช่น สามีภรรยาทะเลาะกัน ภาวการณ์เจ็บป่วยของคน.ในครอบครัว
2. Job Stress ความเครียดที่บุคคลได้รับจากการทำงาน เช่น ปัญหาต่างๆที่พบในที่ทำงาน ความกลัวที่ไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง
สาเหตุของอุบัติเหตุ
ความเครียดของผู้ปฏิบัติงาน
1. ปริมาณความเครียดที่พอดีกับต้องการ (eustress)
•ความเครียดที่ส่งผลด้านบวกบางประการ
- ทำให้การปฏิบัติงานดีขึ้น
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- เพิ่มความตั้งใจและความตรงต่อเวลา
- มีการจูงใจในการทำงานที่ดี
- มีความพอใจในอาชีพของตนมากขึ้น
2. ปริมาณความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพของบุคคล
•ความเครียดที่ส่งผลด้านลบบางประการ
- มีโอกาสใช้สารเสพติดมากขึ้น
- สภาพอารมณ์แปรเปลี่ยนได้ง่าย
- มีพฤติกรรมปัดสวะหรือป้องกันตนเองสูง
- ขาดสมาธิในการทำงาน
- ขาดภาวะการควบคุมอารมณ์ที่ดี
เช่น พนักงานสามารถยกของได้น้ำหนัก 30 กก. เป็นระยะทาง 10 เมตร แต่ถ้างานให้หน้าที่กำหนดให้ เขาต้องยกหนักถึง 40 กก. เป็นระยะทาง 15 เมตร เขาอาจทำได้แต่ต้องใช้เวลาพักงาน ถ้าทำบ่อยๆเขาจะปวดหลัง หรืออาจทำไม่ได้เพราะอาจมีอุบัติเหตุหกล้มบาดเจ็บซึ่งผลตามมาคือผลผลิตลดลง เพราะความล่าช้า
การหยุดพัก ความล้า และความเบื่อหน่าย
การหยุดพักระหว่างการทำงานเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับงานที่มีความซ้ำซากสูง
วิธีการป้องกันควบคุมอุบัติเหตุและอันตราย
การป้องกันการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน 4 ขั้นตอน
1.การชี้ชัดถึงอันตราย
-บริเวณที่ทำงาน (Work Areas)
-วิธีการทำงาน (Work Method)
-ตัวบุคคล (Worker)
2.ควบคุมอันตรายและการกระทำ
-ขจัด (Eliminate)
-คุม (Guard)
-ตักเตือน (Warn)
-รายงาน (Report)
3.การป้องกันมิให้เกิดการประสบอันตรายซ้ำขึ้นอีก
การวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุดำเนินการให้มีวิธีการทำงานที่ปลอดภัยจัดการฝึกอบรมลูกจ้างให้มีการทำงานที่ถูกวิธี
4.การติดตามผล
10. ทฤษฎีมูลเหตุเชิงซ้อน (Multiple Causation Theory)
ถึงแม้ทฤษฎีโดมิโนของ (Heinrich) จะใช้ป้องกันแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุได้แต่ความถี่และความรุนแรงยังไม่เป็นศูนย์ การมองอุบัติเหตุยังไม่ครอบคลุมลึกลงไปถึงสาเหตุที่แท้จริงต่างๆ จึงทำได้เพียงการแก้ไขสภาพการกระทำของคน ดังนั้นจึงมีการเสนอทฤษฎีมูลเหตุเชิงซ้อนของ แดน ปีเตอร์สัน (Dan Peterson) 1971 จากหนังสือเรียนเทคนิคของการจัดการความปลอดภัย (Technique of safety Management) ซึ่งกล่าวไว้ว่า อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้จากเหตุต่างๆ หลายอย่างซึ่งอยู่เบื้องหลัง และสาเหตุต่างๆ เหล่านั้นรวมกันมากเข้าย่อมทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนั้นยังได้เสนอว่าไม่ควรแก้ไขสภาพและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเท่านั้น จะต้องคิดแก้ไขเบื้องหลังของสิ่งเหล่านั้น นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่าสภาพและการกระทำเป็นเพียงอาการที่ปรากฏให้เห็นได้จากความบกพร่องของระบบการทำงาน แต่ความบกพร่องหรือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ คือ การบริหารและการจัดการ ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุเกิดจากการตกบันไดของอาคารเรียนที่โรงเรียน หากเป็นการสอบสวนอุบัติเหตุตามแนวของทฤษฎีโดมิโนก็คือการกระทำที่ไม่ปลอดภัย คือ การใช้บันไดที่มีขั้นบันไดชำรุดสภาพไม่ปลอดภัย คือ บันไดที่มีขั้นชำรุด ข้อเสนอแนะในการแก้ไข คือ กำจัดบันไดขั้นชำรุด ไม่นำมาใช้อีกแต่ถ้าเป็นทฤษฎีมูลเหตุเชิงซ้อน อาจมีการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุโดยใช้
คำถามว่า
1. ทำไมไม่มีการตรวจบันไดที่ชำรุดในขณะที่มีการตรวจปกติ
2. ทำไมยังปล่อยให้มีการใช้บันใดนี้
3. คนที่ตกบันไดหรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุนั้นรู้หรือไม่ว่าเขาไม่ควรใช้บันไดนี้
4. มีการจัดการอบรมเรื่องความปลอดภัยหรือไม่
5. ผู้เกี่ยวข้องยังคงไม่ใช้บันไดนั้นอีกหรือไม่
6. ผู้ควบคุมดูแลการทำงานได้มีการตรวจสภาพแวดล้อมก่อนลงมือทำงานหรือไม่เมื่อได้มีการพิจารณาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้ทราบถึงความบกพร่องต่างๆ ที่ทำให้เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุนั้น แล้วควรสรุปว่าควรแก้ไขดังนี้
1. ควรปรับปรุงการตรวจความปลอดภัย
2. ควรปรับปรุงการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน
3. ควรกำหนดงานความรับผิดชอบให้ชัดเจน
4. ควรมีการวางแผน การนิเทศการควบคุมการทำงาน
โดยสรุปทฤษฎมีมูลเหตุเชิงซ้อนนนี้เน้นการป้องกันอุบัติเหตุโดยการบริหารจัดการโดยจัดให้มีองค์กรความปลอดภัย
สาเหตุของการเกิดอบัติเหตุจากการทำงาน
อุบัติเหตุจากการทำงานนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ
1. สาเหตุจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act) เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของคนงานในขณะปฏิบัติงานเป็นผลทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ถึงร้อยละ 88 ของ
อุบัติเหตุ เช่น
1.1 การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่างๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย
1.2 การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและเครื่องจักรเกินกำหนด
1.3 การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มีเหตุอันสมควร
1.4 การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลังทำงาน
1.5 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูกวิธี
1.6 ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย
1.7 ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย
1.8 ไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
1.9 การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน
2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงานซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น
2.1 เครื่องจักรที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
2.2 อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
2.3 บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม
2.4 การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี
2.5 การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูกวิธี
2.6 ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
2.7 แสงสว่างไม่เพียงพอ
2.8 ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม
2.9 ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
แนวทางการป้องกันการประสบอันตราย
สถานประกอบการที่มีผู้ปฏิบัติงานทุกแห่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความคุ้มครองดูแล ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีจิตสำนึกในความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุขอยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันได้อย่างสันติ โดยปราศจากอันตรายใดๆ โดยการกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เหมาะสมชัดเจนดังต่อไปนี้คือ
1. การกำหนดมาตรการความปลอดภัย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวข้องและผลกระทบต่างๆ ด้านความปลอดภัย เพื่อเป็นแนวทางกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยของหน่วยงานอย่างชัดเจนเหมาะสม เช่น มาตรฐานในการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ สำหรับงานอุตสาหกรรม การกำหนดหลักการปฏิบัติ
2. การตรวจความปลอดภัย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่ระบุไว้ตามกฎหมายอย่างเหมาะสมถูกต้อง เพื่อเป็นกฎข้อบังคับให้กับนายจ้าง สถานประกอบการให้ยึดปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยและรับผิดชอบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน และให้คำแนะนำกระตุ้นการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
3. กฎหมายความปลอดภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมแรงงาน ควรได้มีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานให้มีขอบเขตสอดคล้องเหมาะสมและคุ้มครองแรงงานได้อย่างเหมาะสมและมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง ทั้งทางด้านสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการ ด้านค่าตอบแทน การรักษาพยาบาล การตรวจสุขภาพ สวัสดิการต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการท างานมากยิ่งขึ้น
4. การศึกษาวิจัยความปลอดภัย เพื่อการปรับปรุง พัฒนา งานวิชาการด้านความปลอดภัยให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยสูงสุด
5. ด้านการศึกษา สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน
ควรมีการบรรจุวิชาการด้านความปลอดภัยเพิ่มในหลักสูตรการศึกษา เพื่อเป็นการวางพื้นฐานและสร้างทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยให้เกิดมีขึ้นในผู้ศึกษาก่อนที่จะออกไปสู่ตลาดแรงงาน
6. การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย เพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านความปลอดภัยในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิด ขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานพร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้เกิดมีขึ้นกับผู้ใช้แรงงานทุกคนทุกระดับ
7. การสร้างเสริมทัศนคติด้านความปลอดภัย ทุกองค์กรหน่วยงานควรจัดให้มีการ
รณรงค์ การสร้างเสริมทัศนคติที่ดี และจิตสำนึกด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ
8. การกำหนดมาตรการความปลอดภัยในสถานประกอบการ เพื่อให้ทุกคนทุกฝ่ายปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการด้านความปลอดภัยในการกำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การทำงานอย่างต่อเนื่อง
9. การปรับปรุงสภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน สถานประกอบการควรมีการดำเนินการอย่างจริงจังเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งการมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การจัดระเบียบการทำงานให้ถูกสุขลักษณะมีความปลอดภัยและสวัสดิการที่ดีขึ้น
10. การประกันการประสบอุบัติเหตุ หน่วยงานหรือสถาบันด้านการประกันการประสบอันตรายควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริม มาตรการการป้องกนัอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานและเป็นการปฏิบัติอย่างจริงจัง
11. ทฤษฎีรูปแบบระบบความปลอดภัยของ บอบ ฟเรนซ (Firenze System Model)
บอบ ฟเรนซ (Bob Fireze) กลาววา สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุขึ้นอยูกับองคประกอบ ที่มีความสัมพันธเกี่ยวของกัน 3 สวนคือ คน เครื่องจักร และสิ่งแวดลอม แตละสวนจะมีความสําคัญ ตอการผลิตและการเกิดอุบัติเหตุดังนี้
1) คน หรือ ผูปฏิบัติงาน (Man) ในการผลิตจะตองมีการตัดสินใจดําเนินงาน ภายใตความเสี่ยงอันตรายอยูเสมอ ความเสี่ยงนี้จะมากหรือนอยขึ้นอยูกับขอมูลขาวสารที่ไดรับ ถาหาก ขอมูลขาวสารที่ไดรับมีปริมาณมากพอและมีความถูกตอง การตัดสินใจก็จะถูกตอง หากขอมูลนั้น ไมเพียงพอ การตัดสินใจนั้นก็จะมีความเสี่ยงสูง อาจจะเกิดความลมเหลวในการทํางาน สงผลใหเกิด อุบัติเหตุขึ้นได
2) อุปกรณเครื่องจักร (Machine) อุปกรณเครื่องจักรที่ใชในการผลิตจะตอง มีความพรอม ถาอุปกรณเครื่องจักรออกแบบมาไมถูกตองตามหลักวิชาการ หรือขาดการบํารุงรักษาที่ดี อาจจะเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และจะนําไปสูการเกิดอุบัติเหตุได
3) สิ่งแวดลอม (Environment) สภาพแวดลอมในการทํางานมีความสําคัญ ตอการผลิต การทํางานภายใตสภาพแวดลอมที่ไมเหมาะสม เชน การมีสารเคมีฟุงกระจายในอากาศ การมีแสงจามากเกินไป ก็สามารถกอใหเกิดอุบัติเหตุไดเชนกัน
ดังนั้นในการปฏิบัติงานจะตองมีขอมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ไดแก ขอมูลเกี่ยวกับ งานที่ตองปฏิบัติและขอมูลเกี่ยวกับลักษณะอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น (Nature of harmful consequences) ถาขอมูลมีปริมาณและคุณภาพเพียงพอ ก็จะทําใหความเสี่ยงตางๆ ลดลงอยูในระดับที่สามารถควบคุมได อยางไรก็ตาม ในการทํางานมักจะเกิดความเครียด (Stress) ทําใหความสามารถใน การตัดสินใจของผูปฏิบัติงานลดลง ดังนั้นจะตองระลึกไวเสมอวา คนที่มีสติปญญา ความรูมีการอบรม มาอยางดีมีขอมูลขาวสารเพียงพอ แตภายใตสภาวะแวดลอมบางอยางก็อาจจะมีการตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งจะนําไปสูการเกิดอุบัติเหตุไดเชนกัน
12. ทฤษฎีรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา
การบริหารงานความ ปลอดภัยของกองทัพบกสหรัฐอเมริกาไดพัฒนามากขึ้นเนื่องจากไดมีการนําเอาเทคโนโลยีใหม ๆ มาใชในการปองกันประเทศกองทัพบกสหรัฐอเมริกาจึงไดศึกษาเทคโนโลยีทางดานความปลอดภัย ควบคูไปกับเทคโนโลยีในการผลิตและการใชดวยรูปแบบที่นําเสนอนี้เปนรูปแบบที่แสดงถึงการเกิด อุบัติเหตุซึ่งอางอิงสรุปเปนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุไดเปน 3 ประการคือ
1) ความผิดพลาดของผูปฏิบัติงาน (Human Error) เกิดจากการที่ ผูปฏิบัติงานมีพฤติกรรมการกระทําที่ไมปลอดภัย (Unsafe Act) สภาพการทํางานที่ไมปลอดภัย (Unsafe Condition) ตาง ๆ ที่มีอยูหรือเกิดขึ้นก็เกิดจากวิธีการทํางานที่ไมปลอดภัยของผูปฏิบัติงาน เชนกัน ความผิดพลาดตาง ๆ นั้นอาจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดทางรางกายขาดการฝกอบรมอยาง เพียงพอ หรือขาดการกระตุนหรือแรงจูงใจในการทํางาน
2) ความผิดพลาดในระบบ (System Error) อาจเกิดจากการออกแบบไม เหมาะสมซึ่งเนื่องมาจากนโยบายที่ไมเหมาะสมของหนวยงาน เชน การประหยัด การเลือกใช เทคโนโลยีการบํารุงรักษา หรือเกิดจากความลมเหลวในการออกแบบที่ไมถูกตองตามหลักวิชาการ เปนตน
3) ความผิดพลาดในการบริหารจัดการ (Management Error) สาเหตุหลัก อาจเกิดจากความลมเหลว (Failure) จากการบริหารจัดการขอมูลขาวสารการใชเทคโนโลยีและ ระบบการทํางานที่ไมเหมาะสม ซึ่งความลมเหลวนี้อาจเกิดจากการถายทอดขอมูลขาวสารที่ไมถูก ตองการฝกอบรมอาจไมเพียงพอขาดการกระตุน จูงใจในการปฏิบัติงาน
13. แนวคิดการควบคุมความสูญเสีย (Loss Causation Model)
ค.ศ. 1961 Frank E. Bird ไดคิดคนโมเดลเกี่ยวกับการคนหา สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียขึ้นมา (Loss Causation Model) ซึ่งมีรูปลักษณะคลายโดมิโนของ Heinrich เนื่องจากคนสวนใหญคุนเคยกับทฤษฎีของ Heinrich Domino จึงประยุกตปรับปรุงใหเหมาะสม มากยิ่งขึ้น แตโมเดลของเบิรดแตกตางกันที่โดมิโนของเบิรดมีลูกศรหลายอัน หมายถึง ปญหาทั้งหลายมาจาก หลายสาเหตุมิไดมาจากสาเหตุเดียว (Multiple Causes) ใชคําวาการกระทําที่ต่ำกวามาตรฐาน (Substandard Act) แทนคําวาการกระทําที่ไมปลอดภัย (Unsafe Act) ใชคําวาสภาพการณที่ต่ำกวามาตรฐาน(Substandard Condition) แทนคําวาสภาพที่ไมปลอดภัย เบิรดใชคําวา ที่เปนผลในทางปฏิบัติเพราะเมื่อถามถึงการกระทํา หรือสภาพการณที่ต่ำกวามาตรฐานจึงทําใหมองเห็นวามาตรฐานถูกตองนั้นเปนอยางไร และจะตองทําอยางไร ทฤษฎีนี้ไดอธิบายถึงผล หรือความสูญเสีย (Loss) ไดแกคน ทรัพยสินและ กระบวนการ ผลิต เปนผลมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น (Immediate Cause)ไดแกการกระทําที่ต่ำกวามาตรฐาน (Substandard Act) เชน ปฏิบัติงานโดยไมมีหนาที่ใชเครื่องมือผิดประเภทหรือไมถูกวิธี สภาพการณที่ต่ำกวามาตรฐาน (Substandard Condition) เชน ไมมีระบบสัญญาณเตือนภัย สภาพแวดลอมในการทํางานไมได มาตรฐาน ซึ่งสาเหตุเหลานี้เปนเพียงอาการที่ปรากฏ (Symptom) เทานั้น ซึ่งแทจริงแลวเกิดจากสาเหตุพื้นฐาน หรือ สาเหตุตนตอ (Basic-Cause) ไดแกปจจัยบุคคล (Personal Factor) เชน ผูปฏิบัติงานไมมีความรูในเครื่องมือ ที่ทําขาดความชํานาญปจจัยงาน (Job Factor) เชน ไมมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ไมมีการบํารุงรักษาไมมีการ ตรวจสอบดูแล สาเหตุพื้นฐานเหลานี้เกิดจากขาดการควบคุมที่ดี (Lack of Control) อันไดแกไมมีโปรแกรม ในการปองกันหรือจํากัดสาเหตุ หรือมีไมเพียงพอ มีโปรแกรมอยูแตไมไดมาตรฐาน แตไมปฏิบัติตาม มาตรฐาน หรือปฏิบัติไมไดตามมาตรฐาน (Inadequate Compliance) เชน จํานวนครั้งของการฝกอบรม ผูปฏิบัติงานที่เสี่ยงอันตราย หรือมีหลักสูตรแตไมไดมาตรฐานตามกําหนด หรือมีหลักสูตรที่มีมาตรฐาน แตไมไดปฏิบัติตามตามมาตรฐานที่กําหนดไวหรือปฏิบัติยังไมเพียงพอ
อยางไรก็ตาม ในการทํางานมักจะเกิดความเครียด(Stress) ทําใหความสามารถในการ ตัดสินใจของผูปฏิบัติงานลดลงดังนั้นจะตองระลึกไวเสมอวาคนที่มีสติปญญาความรูมีการอบรมมาอยางดี มี ขอมูลขาวสารเพียงพอแตภายใตสภาวะแวดลอมบางอยางก็อาจจะมีการตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งจะนําไปสู การเกิดอุบัติเหตุไดเชนกัน
14. ทฤษฎี หลายสาเหตุหลายปัจจัย (Multiple Factor Theories)
ทฤษฎีหลายหลายปัจจัย เป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า ” สาเหตุของการเกิดอุบัติหตุเกิดจากปัจจยัหลายปัจจัย ร่วมกัน ”โดยสาเหตุขณะนั้น (Immediate causes) อาจเป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของพนักงาน หรือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งทฤษฎีหลายสาเหตุหลายปัจจัยนั้น จะมีหลายปัจจัยที่เป็นส่วนสนับสนุนให้เกิด อุบัติเหตุโดย V.L. Gross ได้สร้างรูปแบบของทฤษฎีหลายสาเหตุหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุโดย ปัจจัย 4M คือ
1. Man คือคนซึ่งมีปัจจัยร่วมได้แก่ เพศอายุความสูง ทักษะการทำงาน ประวัติการฝึกอบรม แรงจูงใจ เป็นต้น
2. Media คือ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาพอากาศอุณหภูมิแสง สว่าง เสียง เป็นต้น
3. Management คือ รูปแบบในการบริหารจัดการ การจัดองค์กร นโยบาย ระเบียบ ปฏิบัติ เป็นต้น 4. Machine คืออุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ได้แก่ ขนาดของเครื่องรูปร่างของเครื่องจักร น้ำหนัก แหล่งพลงังาน เป็นต้น
ซึ่งทฤษฎีหลายสาเหตุหลายปัจจัย จะมีประโยชน์ในการป้องกันอุบัติเหตุโดยจะทำให้เราระบุถึง ปัจจัย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ ถึงสาเหตุของอุบัติเหตุหรือผลของการเกิด อุบัติเหตุได้ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง มิใช่เกิดจากโชคชะตาหรือเคราะห์ กรรมที่เหนือการควบคุม แต่เกิดจาก สาเหตุที่แก้ไขและป้องกันได้ สาเหตุของอุบัติเหตุที่สำคัญ ได้แก่ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) การป้องกันอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพทำได้โดยการกำจัดการกระทำ หรือสภาพการณ์ ที่ไม่ปลอดภัยให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไป สภาพการทำงานที่ปลอดภัยก็จะเกิดขึ้นในที่สุด